ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การทำเหมืองแร่ กับ อนาคตของประเทศไทย

คิดใหม่ อีกรอบ การตีกรอบ 19 โครงการ ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

02 เมษายน 2553 ที่มา มติชน

โดย วิเชียร ปลอดประดิษฐ์ วิเชียร ปลอดประดิษฐ์ เลขาธิการ สภาการเหมืองแร่

เป็นคนหนึ่งที่ติดตามเรื่องการปรับปรุงรายการ “โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ตามมาตรา 67 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550” ของคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในฐานะคนที่ ศึกษาและคลุกคลีอยู่ในวงการเหมืองแร่มานาน รู้สึกว่าหลายฝ่ายยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ การ ทำเหมืองแร่หลายเรื่อง จึงขอยกเอาเหตุผลจากความรู้และ ประสบการณ์ด้านนี้มาแบ่งปัน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เปิดใจรับฟังว่ามีทรรศนะ ที่เหมือน หรือต่างไปจากนี้หรือไม่เรื่องแรก การใช้เงื่อนไขพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมตามมติ ครม. เป็นตัวกำหนดความรุนแรงของผลกระทบต่อชุมชนของกิจกรรมใดๆ โดยเฉพาะการทำเหมืองแร่ ในความเป็นจริง พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่หวงห้ามที่ไม่อนุญาตให้มีคนเข้าไปอยู่อาศัย มูล เหตุที่จะทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากกิจกรรมใดๆ มีความเป็นไป ได้น้อยมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย หากจะถือตามหลักว่า กิจกรรมใดๆ ในพื้นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนปลายน้ำที่อยู่ห่างไกลได้แล้ว กิจกรรมใดๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำนอกเขตพื้นที่ต้องห้ามเหล่านั้น ย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบต่อชุมชนปลายแม่น้ำที่อยู่ไกลได้มากกว่า ตาม หลักนี้ย่อมหมายความว่ากิจกรรมใดๆ ในประเทศไทยก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงได้ทั้งสิ้นเพราะ กิจกรรมในทุกพื้นที่ย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบต่อลำน้ำของพื้นที่นั้นๆ ข้อ เท็จจริงที่สำคัญอีกอย่างคือ ประเทศไทยมีการทำเหมืองแร่ในพื้นที่หวงห้ามเหล่านั้นมาก่อนนับร้อยปี แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการทำเหมืองแร่ ยกเว้นแร่ตะกั่วและแร่สังกะสี ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชนห่างไกลที่อยู่โดยรอบ เรื่อง ที่สอง การทำเหมืองแร่ใต้ดิน แม้ว่าจะมีโอกาสส่งผลกระทบต่อชุมชน แต่ก็ไม่น่าจะรุนแรง เพราะกิจกรรมทำเหมืองส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน ไม่มีการปล่อยฝุ่น ควัน และเสียงออกมาภายนอก นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่หน้างานจำกัด ไม่สามารถทำการระเบิดขนาดใหญ่ที่จะสร้างแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงได้ จึงแทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนใกล้เคียงเลย สำหรับ ประเด็นการสร้างความเสียหายให้แก่ชั้นน้ำใต้ดินก็มีโอกาสเกิดน้อยมาก เพราะวิศวกรเหมืองแร่จะหลีกเลี่ยงการเจาะอุโมงค์ผ่านชั้นน้ำใต้ดิน เนื่องจากน้ำใต้ดินที่ไหลออกมาจะท่วมเหมือง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคขั้นวิกฤตในการทำเหมืองใต้ดิน ส่วนเรื่องการปนเปื้อนโลหะในน้ำใต้ดิน ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะการทำเหมืองใต้ดินเพื่อผลิตแร่โลหะหนัก หรือแร่ที่มีโลหะหนักเป็นเพื่อนแร่เท่านั้น ไม่มีเหตุผลใดที่จะทำให้การทำเหมืองใต้ดินเป็นสาเหตุให้น้ำใต้ดินปนเปื้อน โลหะหนักได้ การทำเหมืองแร่ใต้ดิน หากจะมีประเด็นที่น่าเป็นห่วง ก็คือการทำเหมืองด้วยวิธี Block caving, Long wall และ Short wall เท่านั้น เพราะอาจทำให้แผ่นดินข้างบนทรุดตัวรุนแรงเนื่องจากวิธีดังกล่าวจะขุดเอาแร่ ออกมาหมด ไม่เหลือแร่เป็นเสาค้ำยันเพดานไว้ หากชุมชนมีความ กังวลในเรื่องนี้ ขอเสนอให้ระบุประเภทโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้ชัดเจน โดยแก้ไขจาก “เหมืองแร่ใต้ดินตามกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่ทุกขนาด” เป็น “เหมือง ใต้ดินตามกฎหมายว่าด้วยแร่ โดยวิธี Block caving, Long wall และ Short wall หรือวิธีการทำเหมืองใต้ดินอื่นใดที่ยินยอมให้พื้นดินทรุดตัว เว้นแต่เจ้าของที่ดินเหนือเหมืองแร่ใต้ดินนั้นให้ความยินยอม” เรื่อง สุดท้าย ยอมรับว่า ที่ผ่านมาการทำเหมืองแร่บางชนิดในประเทศไทย เช่น เหมืองแร่ตะกั่ว ซึ่งมีโลหะหนักเหมืองแร่สังกะสีที่มีแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนักเป็นเพื่อนแร่และเหมืองแร่ที่มีสารหนูเป็นเพื่อนแร่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชุมชนที่อยู่ท้ายน้ำ แต่ก็ใช่ว่าการทำ เหมืองแร่ทุกประเภทจะส่งผลกระทบรุนแรงไปหมด เหมืองแร่ดีบุกใน ภาคใต้ของไทย ก็เป็นเหมืองดีที่ได้เคยอยู่ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ได้ดีมาตลอด นอก จากแร่ดีบุกแล้ว แร่โลหะอื่นๆ หลายชนิด เช่น แร่เหล็ก แร่อะลูมิเนียม ก็เป็นแร่โลหะที่ไม่มีพิษ และไม่มีเพื่อนแร่ที่เป็นพิษแต่อย่างใด หาก จะเหมารวมให้ “เหมืองแร่โลหะทุกชนิดทุกขนาด”อยู่ในกลุ่มโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก น่าจะระบุให้ชัดเจนขึ้นเป็น “เหมืองแร่ตะกั่ว เหมืองแร่สังกะสี เหมืองแร่แคดเมียม เหมืองแร่ปรอท เหมืองแร่ยูเรเนียม และ เหมืองแร่โลหะอื่นที่ใช้ไซยาไนด์ในกระบวนการผลิตทุกขนาด” มากกว่า ในโอกาสนี้ อยากจะขอให้สังคมทราบความจริงถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ว่า ในปัจจุบันแร่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดสำหรับมนุษย์เราไปแล้ว ดู รอบๆ ตัวเรา ทุกอย่างทำจากแร่เกือบทั้งหมด ไม่ว่าถนนหนทาง ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไม้สอย เครื่องสำอาง และยารักษาโรค โลกที่มีพลเมืองกว่า6,000 พันล้านคน ไม่สามารถย้อนยุคกลับไปดำรงชีวิตโดยไม่มีแร่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะมันไม่ได้หมายถึงเพียงการขาดความสะดวกสบาย แต่มันหมายถึงความตายของผู้คนนับพันๆ ล้านคน และความยากแค้นจากการขาดแคลนที่อยู่อาศัย เหตุที่ผู้คนตาย เพราะเราจะขาดปุ๋ยอินทรีย์และน้ำชลประทานในการคงหรือเพิ่มปริมาณผลผลิตอาหาร จากการเกษตรกรรม และเราจะไม่มียานพาหนะเพียงพอที่จะขนส่งอาหารจากแหล่งเพาะปลูกไปยังเมือง ป่าไม้จะสูญสิ้นเพราะผู้คนจะลักลอบตัดไม้เพราะต้องใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงหุง ต้มและเป็นวัสดุในการสร้างที่อยู่อาศัยแทนหินและโลหะ ในกรณี ที่ประเทศอื่นยังทำเหมืองแร่อยู่ แต่ประเทศไทยเห็นว่าเหมืองแร่เลวร้ายและตัดสินใจไม่ทำเหมืองแร่ทุกชนิดโดยจะ แก้ปัญหาด้วยการนำเข้าแร่มาใช้แทนแล้ว เราต้องนำเข้าแร่เป็นมูลค่าประมาณ 170,000 ล้านบาท เมื่อบวก มูลค่าแร่ที่ผลิตได้ในปัจจุบันอีก ประมาณ 40,000 ล้านบาทแล้ว การไม่ทำเหมืองแร่ในประเทศไทยเลย เราจะสูญเสียเงินโดยตรงรวมประมาณ 210,000 ล้านบาท หรือประมาณ1% ของจีดีพี นี่ยังไม่นับผลกระทบต่อเนื่องอีกมหาศาลจากการที่เงินจำนวนนั้นจะหายไปจาก ระบบเศรษฐกิจ โดยรวม ไม่อยากให้สังคมมองว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นผู้ร้าย หรือเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง เหมือง แร่อยู่ในสังคมไทยมาแล้วกว่า 100 ปี และได้ทำประโยชน์และพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยมานาน ในอดีตแร่ ดีบุกก็เป็นแร่เศรษฐกิจของประเทศที่สร้างรายได้ให้พี่น้องชาวใต้ การทำเหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ก็มีมานานและมีประวัติอยู่ ร่วมกับชุมชนด้วยดีมาโดยตลอด ปัญหาหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพียงแต่เราศึกษาให้เข้าใจ และผลักดันไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม ก็จะช่วยพัฒนาให้ประเทศเติบโตควบคู่กันไป ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ชุมชนก็จะอยู่อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ ดี–จบ–

 

*********เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ และเป็นความหวังของวงการเหมืองแร่ ทุกระดับนะครับ**********

Leave a comment